การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด มีความเกี่ยวโยงกับทุกระดับของสายงานการผลิต และมีความสำคัญกับระบบคุณภาพต่อภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ความไม่แน่นอนของการวัด คือ สิ่งที่ชี้บอกความไม่สมบูรณ์ในความรู้ของปริมาณที่ถูกวัด ซึ่งเกิดขึ้นทุกครั้งในการถ่ายทอดความถูกต้องของการวัด ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนไหนของความสามารถสอบกลับได้ ซึ่งในแต่ละระดับของการวัดจะเกิดความไม่แน่นอนของการวัดสะสมขึ้นเรื่อย ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการถ่ายทอดการวัดของแต่ละห้องปฏิบัติการ และความไม่แน่นอนอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการวัด เครื่องมือวัด ผู้ปฏิบัติการ และสภาวะแวดล้อมในการวัด เป็นต้น
วัตถุประสงค์
-เพื่อให้ทราบถึงหลักการมาตรวิทยาและวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดตามมาตรฐานสากล
-เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานสอบเทียบเครื่องมือวัด และออกใบรายงานผลการสอบเทียบได้
-เพื่อให้สามารถตีความ และนำข้อมูลในใบรายงานผลการสอบเทียบไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง
- เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
- วิศวกร หัวหน้างาน และผู้รับผิดชอบเครื่องมือวัด
- พนักงานโรงงาน และผู้ที่สนใจ
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ
- ทราบถึงวิธีการสอบเทียบไม้บรรทัดและตลับเมตร ตามวิธีการสอบเทียบมาตรฐาน JIS
- ทราบถึงวิธีการใช้งานเครื่องมือวัดไม้บรรทัดและตลับเมตร และการบำรุงรักษาเครื่องมือวัด
- มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติในการสอบเทียบเครื่องมือวัด
- สามารถออกใบรายงานผลการสอบเทียบ และนำผลการสอบเทียบไปใช้ได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องตามมาตรฐาน ISO9001
สถานที่จัดอบรม ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
จำนวนวันในการจัดอบรม: 2 วัน
15 มีนาคม 2565 เวลา 9:00-16:00 น.
อ.วิศรุต คงสกุล / วิศวกรชำนาญการ
ศูนย์สอบเทียบเครื่องมือวัดสำหรับอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศสาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาฟิสิกส์
ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ